การศึกษาแนวทางการส่งเสริม Gig Economy ในประเทศไทย

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจที่ประกอบด้วยกลุ่มแรงงานอิสระ หรือ Gig Economy มีความสำคัญมากขึ้นไปอีก เพราะจุดเด่นคือมีความยืดหยุ่นกับทั้งนายจ้างและแรงงาน และเป็นเครื่องมือทางเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สำคัญ

บทบาทของ Gig Economy จะสำคัญขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลังจากวิกฤตโควิด-19 เนื่องจากในปัจจุบันคนต้องการอิสระมากขึ้น แม้จะไม่ได้สวัสดิการหรือรายได้ไม่เท่ากับการทำงานในบริษัทหรือองค์กรใหญ่ๆ แต่ใครหลายคนยอมแลกสิ่งเหล่านี้กับเสรีภาพ เพราะความอิสระเป็นสิ่งที่ประเมินค่าไม่ได้ ในทางกลับกันแรงงานฟรีแลนซ์ที่ทำงานที่ไหนก็ได้ ทำให้พวกเขาไม่ต้องเข้ามาทำงานในเมืองใหญ่ที่มีค่าครองชีพสูง แต่สามารถกลับไปทำงานที่บ้านเกิด ประหยัดค่าครองชีพ มีเงินเก็บเพิ่ม และมีการใช้จ่ายในต่างจังหวัด เป็นการกระจายความมั่งคั่ง 

ตั้งแต่หลังวิกฤตโควิด-19 นั้น ในประเทศไทยที่คนต้องมาเป็น Gig Worker มากขึ้น ไม่ใช่เพราะว่าเลือกมาเป็น แต่เป็นเพราะว่ามาเป็นเพราะความจำเป็น ซึ่งต่างจากแนวทางในต่างประเทศในช่วงก่อนวิกฤตโควิด-19 การเป็น Gig Worker เป็นทางเลือกเพราะคนที่เลือกมาทำอาชีพนี้ส่วนมากคือทำงานเก่งและเชี่ยวชาญในสิ่งที่ตัวเองทำมาก อาจจะออกจากบริษัทมาทำเอง เพราะไม่ต้องการโดนจำกัดกรอบโดยบริษัท คนเหล่านี้ส่วนมากยังไงก็หางานได้ แต่สภาพในปัจจุบันแรงงานแพลตฟอร์มจำนวนมาก ต้องมาเป็นเพราะความจำเป็น เพราะตกงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 หรือ ไม่สามารถหางานในตลาดแรงงานได้ หรือเงื่อนไขในบริษัทไม่สอดคล้องกับเงื่อนไขในชีวิต พอใครๆ ก็มาเป็น Gig Worker ทำให้เกิดปัญหาสงครามราคา บริษัทก็จะยิ่งกดราคา คนทำงานก็แข่งกันตัดราคา ในต่างประเทศจึงมีการตั้งราคาขั้นต่ำของแต่ละงานให้ไม่กดราคาเกินไป

 

ปีที่เผยแพร่ 2022
visited: 619 download: 37